|
ประวัติประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ซึ่งต้องมีการหล่อเทียนพรรษา เป็นประเพณีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา การหล่อเทียนแต่ละเล่มจะต้องหล่อด้วยขี้ผึ้ง ต้องใช้ขี้ผึ้งในการหล่อเทียนหนักถึง ๑๖ ชั่ง เมื่อถึงเวลาหล่อเทียน สำนักพระราชวัง จำบอกบุญไปยังพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน และ ขุนนางฝ่ายต่าง ๆ เป็นต้น ให้นำขี้ผึ้งมาช่วยกันหล่อเทียนจึงสำเร็จลงได้จำนวนเทียนที่หล่อจึงมีมากขึ้น เหตุที่ต้องมีประเพณีหล่อเทียน คือ เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง วัน ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ บรรดาภิกษุ สามเณรต้องจำพรรษาในวัดหรือสถานที่ ที่กำหนดตลอดระยะเวลา ๓ เดือน มิให้ไปค้างแรมที่อื่นๆ ระหว่างการจำพรรษาของพระภิกษุ สามเณร จะมีการสวดมนต์ทำวัตร เช้า-เย็น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้เทียนจุดเพื่อบูชาให้ตลอดพรรษา พุทธศาสนิกชนจึงร่วมมือร่วมใจกันหล่อเทียนพรรษา เทียนที่หล่อขึ้นจึงเรียกว่า เทียนพรรษา หรือ เทียนจำนำพรรษา การถวายเทียนพรรษาเป็นกุศลอย่างหนึ่งของการให้แสงสว่าง พิธีหล่อเทียนเริ่มก่อนเข้าพรรษา ประมาณ ๑ สัปดาห์ เมื่อหล่อเทียนเสร็จ วันรุ่งขึ้นจะนำเทียนพรรษาที่หล่อได้ จัดขบวนแห่นำไปถวายที่วัด เพื่อเป็นพุทธบูชา ในวันนั้นจะมีการทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุ เพื่อเป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้าน
อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแด่พระภิกษุ
ถือกันว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า
เหมือนดังแสงเทียนที่สว่างยามค่ำคืน
ซึ่งพระภิกษุสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจของสงฆ์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Last
modified:
20/07/16
Copy Right © 2545
จังหวัดสุพรรณบุรี
|
สถานที่ท่องเที่ยว
|
ที่พัก-รีสอร์ท
|
ร้านอาหาร
|
แผนที่ |
การเดินทาง
|
Other
|
Suphan Gallery